




Janine Yasovant MPA. : Writer
In the year I took an entrance exam to Prince of Songkla University, Ajarn Tim, the famous former abbot of Wat Chang Hai temple, passed away long time ago but his fame and virtues were still be mentioned especially the making of the amulets and coins for Luang Phu Tuad Yeap Nam Talae Jued, one of the noble monks whom many Thai people revered.
ในปีที่ดิฉันสอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ทิมเจ้าอาวาสวัดช้างให้ได้มรณะภาพไปนานแล้ว แต่ชื่อเสียงความดีงามยังมีคนกล่าวถึง ในเรื่องของการสร้างหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

I have bronze statues of Ajarn Tim and Luang Phor Dam, the former abbot of Mujalintawapiwihan whom I wrote about last time. The lap size is 5 inches and the height is 8 inches. The statue was made in May B.E. 2518 (1975 A.D.) which was 2 years before the bronze statue of Luang Phor Dam.
ดิฉันมีรูปปั้นสำริดของอาจารย์ทิมเมื่อได้มีโอกาสไปทำบุญ ได้มาพร้อมกับรูปปั้นสำริด ของหลวงพ่อดำ วัดมุจลินทวาปีวิหารที่ได้เขียนถึงท่านไปครั้งก่อน ขนาด 5 x 8 นิ้ว บันทึกว่าสร้างเมื่อ พฤษภาคม 2518 ซึ่งสร้างก่อนรูปปั้นหลวงพ่อดำ ประมาณ 2 ปี


Phra Kru Wisaisophon (Tim Thammatharo)
Date of Birth: 21 August B.E. 2455 (1912 A.D.)
Date of Passing: 30 November B.E. 2512 (1969 A.D.)
Age: 57 Date of novice ordination: B.E.2473 (1930 A.D.) Date of monk ordination: 7 June B.E. 2476 (1933 A.D.) Total years in ordination: 37 years
being the resident monk of: Chang Hai Temple Area: Pattani Province Thailand Last position: Abbot of Chang Hai Temple
พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมมฺธโร)
เกิดเมื่อวันที่: 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455
มรณภาพเมื่อวันที่: 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512
อายุ 57
วันบรรพชา: พ.ศ. 2473
วันอุปสมบท: มิถุนายน พ.ศ. 2476
จำนวนรวมพรรษา: 37 พรรษา
วัดที่จำพรรษา: วัดช้างให้
ท้องที่: จังหวัดปัตตานี
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์: เจ้าอาวาสวัดช้างให้
Phra Kru Wisaisophon (Tim Thammatharo) was born on 21 August B.E. 2455 (1912 A.D.) which was in the reign of King Mongkutklaochaoyuhua (Rama VI). He was the former abbot of Chang Hai temple, Khok Pho District, Pattani Province. His given name was Tim Phrompradu and he was the second son of Mr. Inthong and Mrs. Noom. His parents had 6 children including Tim. He was ordained to be a novice when he was 18 years old. After a short while, he left the novicehood to be a layman to help his parents and then he was ordained again when he was 20 years ago at Na Pradu temple in 7 June B.E. 2476 (1933 A.D.) Phra Kru Phiboonsamanawat from Mujalintawapiwihan Temple was his preceptor. The abbot Phut Tissaro was the first announcing teacher and the abbot Kaew was the second announcing teacher. After ordination, Tim received the monk's name Thammatharo.
พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธัมมธโร) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ท่านมีนามเดิมว่า ทิม พรหมประดู่ เป็นบุตรของนายอินทอง และ นางนุ่ม มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 18 ปี แต่ไม่นานก็ลาสิกขาบทออกมาช่วยบิดามารดาทำงาน อุปสมบทเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ณ วัดนาประดู่ ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยมีพระครูพิบูลย์สมณวัตร วัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการพุฒ ติสสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธมมฺธโร
In B.E. 2497 (1954 A.D.) Phra Ajarn Tim and Mr. Anant Kananurak met at Chang Hai Temple. This was the beginning of amulets and coins of Luang Pho Tuad for the first time. From According to the vision of Ajarn Tim, he saw an old monk sitting cross-legged on the lotus and had a black Buddha statue. from then on, this type of amulets are very well known up to the present. Ajarn Tim participated in making for various series of amulets and coins in the name of Chang Hai temples and other temples starting from B.E. 2497 (1954 A.D.) to before his passing. Most of them are still well known and sought by amulets collectors.
เมื่อปี พ.ศ. 2497 พระอาจารย์ทิม และนายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้มีโอกาสพบกัน ณ วัดช้างให้ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดพระเครื่อง หลวงพ่อทวดขึ้นเป็นครั้งแรก ตามภาพนิมิตเป็นรูปพระภิกษุชรานั่งขัดสมาธิบนดอกบัว มีองค์พระดำ นับแต่นั้นมาพระพิมพ์นี้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายสืบมาจนถึงปัจจุบัน วัตถุมงคลที่ พระอาจารย์ทิมมีส่วนร่วมสร้างทั้งในนามวัดช้างให้และวัดอื่นๆ นับจากปี พ.ศ. 2497 ตราบจนกระทั่งมรณภาพมีหลายต่อหลายรุ่น ล้วนแต่เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างกว้างขวาง



Dew- drop coin Arjarn Tim Wat ChangHai BE. 2520







ดิฉันทราบจากบันทึก ของท่านกับการบริจากทับทิม ขนาดใหญ่มาก บนยอดเจดีย์ วัดหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ โดยคุณประภาศรี ตุลารักษ์ สุภาพสตรี ที่ดิฉันอาศัยอยู่ด้วย 3 ปีเศษ ขณะเรียน ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และขอนำมาเผยแพร่ ในบันทึกของปี2562 นี้
Here is the diary of Prapasri Tularaksa the niece of Sanguan Tularaksa the former Thai ambassador in Pei Jing, China.
บันทึกของคุณประภาศรี ตุลารักษ์ ผู้เป็นหลานของคุณสงวน ตุลารักษ์ อดีตเอกอัครราชทูตไิทยในกรุงปักกิ่งประเทศจีน
สงวน ตุลารักษ์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2445 — 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักการเมืองไทยและสมาชิกผู้นำของเสรีไทย
ในปี พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐจีน และปฏิเสธที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสงวนใช้เวลาอีกสิบปีถัดมาอาศัยอยู่ในจีน จึงเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2500 และถูกสั่งจำคุกโดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2508
Sanguan Tularaksa June 18, 1902 - May 15, 1995) was a Thai politician and a leading member of the Seri Thai.
In 1946 he was appointed ambassador to the Republic of China. He refused to return to Thailand following the coup d'état of 1947, declaring that the new constitution was illegitimate. Sanguan spent the next decade living in China. He returned to Thailand in 1957 and was jailed by the government of Field Marshal Sarit Thanarat. He was released in 1965.
( E. Bruce Reynolds. Thailand's Secret War: The Free Thai, OSS, and SOE. Cambridge University Press. pp. 122–3. ISBN 0521836018. )
เป็นบันทึกที่วัดได้ทำไว้ ....เลยถือโอกาสแปลให้วัดเมื่อปี พ.ศ.2554 ( 2011AD. )
ดิฉันเคยทราบมาก่อน และได้ถามท่านเรื่องนี้ ท่านก็ได้กล่าวให้ฟังเพียงเล็กน้อย คือความตั้งใจที่จะ ถวายเป็นพระราชกุศล ความตั้งใจเดิมของท่านอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้จากทองคำที่มีผู้บริจาคมากน้อยแค่ไหน ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นและไม่เคยคิดจะขอดูด้วย เป็นแต่ท่านอาจารย์ทิมพูดให้ฟังว่ามีทองคำที่มีผู้บริจาครวมไว้สร้างสำเภาทองคำ สำเภาเงินและฉัตรทองคำ เพื่อนำไปประดิษฐานไว้บนยอด พระเจดีย์ ส่วนสำเภาเงิน สำเภาทองจะสร้างไว้ลอยในขันน้ำมันคู่ใหญ่ของวัดช้างให้ เผอิญท่านมรณภาพก่อนที่จะได้สร้างสิ่งที่ท่านตั้งใจไว้
ต่อมาคณะกรรมการได้จัดสร้างฉัตรทองคำตามประโยชน์ของท่านอาจารย์ทิม ก่อนสร้างดิฉันได้ไปเขียนสั่งที่วัดไว้ว่า ดิฉันจะบริจาคทับทิมเม็ดใหญ่ น้ำหนัก ๗๑ การัตครึ่งเพื่อประทับไว้บนยอดสูงสุดของฉัตร ชั้นที่ ๙ แต่ทางคณะกรรมการมิได้บอกให้ช่างทำฉัตรทราบ คงไม่ได้เปิดสมุดบันทึกการบริจาคทับทิมของดิฉัน ซึ่งจดไว้ที่กุฏิท่านอาจารย์ทิม ดิฉันมาทราบก็ต่อเมื่อช่างได้ทำฉัตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงได้ต่อว่าคณะกรรมการ ตอนที่จะสร้างทำไมไม่บอกให้รู้ หนังสือเขียนเรื่องการบริจาคทับทิมก็เขียนไว้ให้อยู่ คณะกรรมการบอกว่าเมื่อสร้างแล้วคุณประภาศรีมีปัญญาจะนำทับทิมที่บริจาคไปประดับไว้ที่ส่วนไหนของฉัตรก็สุดแต่จะทำเถอะ ดิฉันจึงรีบไปที่ร้านทองซึ่งรับทำฉัตรนี้
บอกช่างถึงเจตนารมณ์ของดิฉัน เพราะตั้งใจจะทำบุญด้วยทับทิมเม็ดนี้ให้ได้ ร้านทองลิ่มเซี้ยบอกว่านำทับทิมมาเถอะจะติดให้ ดิฉันก็เอาเงินไปซื้อทองคำหนัก ๔ บาท๕๐ สตางค์ ให้นายมีเคี่ยม ผู้เจริญทรัพย์ร้านทองในตลาดทำให้และให้ นายจิราพันธุ์ เป็นผู้เขียนแบบโดยเอาทับทิมเม็ดใหญ่ ๗๑ การัตครึ่งติดไว้ตรงกลาง
ส่วนเม็ดเล็กๆ วางรายรอบทับทิมเม็ดใหญ่อีกทีหนึ่ง รวมทับทิมที่ใช้ประดับแล้วมีน้ำหนัก ๑๐๗ การัตครึ่ง ระหว่างที่ทำยังไม่ไม่แล้วเสร็จ ดิฉันไปทรงหลวงปู่ทวดและบอกท่านว่าจะนำแผ่นทองคำประดับทับทิมไปประดับบนฉัตรทองคำชั้นที่เก้าถวายให้หลวงปู่ทวด เพราะตั้งใจจะให้ได้อยู่บนชั้นยอดสุด หลวงปู่ท่านบอกว่าบุญของลูกยังไม่ถึงชั้นเก้าได้เพียงชั้นเจ็ดเท่านั้น พอช่างทำเสร็จดิฉันก็รับเอาไป ตั้งใจจะไปติดชั้นเก้าให้ได้ พอนำไปทาบที่ชั้นเก้าติดไม่ได้อย่างที่หลวงปู่บอกไว้ว่าบุญมีได้เพียงชั้นเจ็ดเท่านั้น พอนำไปทาบชั้นเจ็ดติดได้พอดีเพราะแผ่นทองที่ทำมาใหญ่มากจนติดชั้นที่เก้าไม่ได้ สกรูขันติดลงมาจากชั้นที่เก้าลงมาที่ชั้นเจ็ดพอดี ขันสกรูได้สี่ตัวตรงดังที่หลวงปู่บอกไว้ บุญยังไม่ถึงชั้นเก้าต้องเพียรทำต่อไป เมื่อทำไปติดกับฉัตรทองคำได้สำเร็จดิฉันก็พอใจแล้ว เพราะตั้งใจจริงๆ
และมีผู้ร่วมบุญหลายราย อนึ่ง คุณประภาศรี ตุลารักษ์ ได้ซื้อทับทิมเม็ดเล็กๆ เพิ่มอีก ๙๕ เม็ด หนัก ๑๘ การัต วัดช้างให้ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 94180

Comentarios