top of page
รูปภาพนักเขียนJanine Yasovant

Phra Rod Lamphun: พระรอด ลำพูน

อัปเดตเมื่อ 3 ม.ค. 2563


Phra rod Lamphun Province Thailand


A Perfect one : Pra Rod Wat Mahawan


Contact me ..svanteethailand@hotmail.com
พระรอดกรุ วัดมหาวัน : 20 M. Baht

Contact me..A. Jan : svanteethailand @hotmail.com











Phra Rod : Wat Mahawan .


พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน

Both amulets belonged to my father and then came to me. The golden box were lost. One black amulet was also lost.

เป็นของคุณพ่อค่ะ ...กว่าจะมาถึงดิฉัน ตลับทองหายไปแล้ว มีสีดำคล้ายกันหายไปด้วย1 องค์



Thailand Lamphun Province


Phra Rod : Lamphun

This one is a medium-sized amulet. I used this as a model for photographs frequently.

เป็นพระรอดขนาด กลางๆค่ะ องค์นี้ถ่ายรูปหลายรอบมาก เลยค่ะ


Pra Rod : Lamphun





These are white and light yellow color (They called Pikul flower color) They came in the different times. Although the color is somewhat the same, the type is actually different.


เป็นพระรอดสีดอกพิกุล มาคนละเวลา จึงได้แต่สีคล้ายกัน แต่มาคนละพิมพ์เลยค่ะ



These have green and cream color. all the patterns is still clear

เป็นสีครีมแกมเขียว หน้าตาชัดทุกองค์ค่ะ


These ones have the art of the oldest Lanna amulets. The sitting posture is the subduing Mara style. The lower black amulets came in the different time from the bigger one above.

ศิลปะ ของพระ ที่เป็นพระล้านนา ที่เก่าสุด พระประทับนั่งเหนือแท่นปางมารวิชัย

สีดำแถวล่าง มาต่างเวลากว่าพระรอดใหญ่ด้านบน


I wish you can remember and have knowledge with these most wanted amulets

หวังว่าทุกท่านจะจำได้และมี ความรู้กับพระที่มีคนต้องการมากที่สุดนะคะ



Pra Rod Wat Mahawan : Lamphun

This amulet has a container so I open it for you to see

ชิ้นนี้ มีตลับ ห่อหุ้มอย่างดี เลยถือโอกาสแกะให้ดู




Lanna was an Indianized state centered in present-day Northern Thailand from the 13th to 18th centuries. The Pali chronicles refer to the kingdom as Yonarattha or Yonkarattha (Kingdom of the Yuon) or Bingarattha (Kingdom of the Mae Ping). In the Chinese History of the Yuan it is called Pa-pai-si-fu, mentioned first in 1292.



Lanna Kingdom A.D. 1292 – 1775

The cultural development of the people of the Northern Thai people had begun long before as successive kingdoms preceded Lanna. As a continuation of the kingdom of Ngoenyang, Lanna emerged strong enough in the 15th century to rival the Ayutthaya Kingdom, with whom wars were fought. However, the Lanna Kingdom was weakened and became a tributary state of the Taungoo Dynasty in 1558. Lanna was ruled by successive vessel kings, though some enjoyed autonomy. The Burmese rule gradually withdrew but then resumed as the new Konbaung Dynasty expanded its influence. Taksin of the Thonburi Kingdom finally conquered Lanna in 1775



Chamdhevi : The First king of Lanna Thai

ศิลปะพระพิมพ์สกุลช่างหริภุญไชย (ลำพูน) ผู้รู้บอกว่า ได้รับอิทธิพลจากหลายสมัย...ศิลปะทวารวดี ศิลปะอินเดีย ศิลปะศรีเกษตรและพุกามของพม่า ศิลปะลพบุรี และศิลปะล้านนา


Pra Rod : Lamphun THAILAND
พระรอด ลำพูน

This amulet was newly received when we had a donation and reserved an amulet on the occasion of 200th year celebration of Rattanakosin period. and the amulet came with the bigger Buddha image for worshipping. The grand Buddhaphisek ceremony was held in Lamphun Province.


องค์นี้เป็นพระรอดใหม่ได้มาตอนที่เราทำบุญและได้จองพระบูชา ในวาระ พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มาพร้อมกับพระองค์ใหญ่ มีพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดลำพูน อย่างยิ่งใหญ่ค่ะ



Looking back to the history of ancient Lanna Thai Kingdom before the siege of Ayutthaya Kingdom in B.E. 1775 (1232 A.D.), the art style originated from Artisan family of Hariphunchai Kingdom, Lamphun. It is believed that they were influenced by many eras such as Dhavaravati, Indian Srikaset and Phukam of Burma, Lopburi and Lanna art styles. the Age was around 1,300 years ago from the present time (A.D. 2019). At that time, The famale king Chamdhevi marched her troops from Lopburi to Lanna Thai and settled down to build temple and pagoda at Wat Mahawan and Wat Chamdhevi until people found many kinds of amulets during the temple restoration in the reign of King Rama V.


เมื่อมองย้อนกลับมายังประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนาไทยโบราณก่อนจะถึงการบุกเช้ามายึดครองของอาณาจักรอยุธยาในปีพ.ศ. 1775 รูปแบบสกุลช่างทางศิลปะมีต้นกำเนิดมาจากสกุลช่างของอาณาจักรหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นที่เชื่อกันว่าศิลปะหริภุญชัยได้รับอิทธิพลมาจากหลายยุคหลายสมัยเช่นสมัยทวารวดี สมัยศรีเกษตรของประเทศอินเดีย สมัยพุกามของประเทศพม่า สมัยลพบุรีและสมัยล้านนา สมัยนั้นมีเวลาประมาณ 1,300 ปีนับจากเวลาปัจจุบัน พ.ศ 2562 ในเวลานั้นพระนางจามเทวีที่เป็นกษัตรีย์ได้ยกทัพจากอาณาจักรลพบุรีมายังอาณาจักรล้านนาไทย ทำการตั้งรกรากและปลูกสร้างวัดวาอารามและเจดีย์ ที่วัดมหาวันและวัดจามเทวี จนกระทั่งมีผู้ค้นพบพระเครื่องมากมายหลายชนิดในตอนที่มีการบูรณะปฎิสังขรณ์วัดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5



Phra Rod amulets from Wat Mahawan temple were made from Igneous Rock found in Thailand. The igneous rock was blended and heated by fire until it melt. mixed with any kinds of chanted materials. The research found metallic substances so the rust can mix with the soft jewels such as quartz crystal blended in the molten rock. It could be from the inactive volcano in the North of Thailand. Bubbles may happen at the surface of the amulets but the fingerprints of the creators (Head monks) can still be seen.


In ancient times, the amulets were created to be given to soldiers for boosting their morale. Some believed that they contained supernatural powers to protect soldiers from dying. In Thailand, Phra Rod amulets are very famous and very expensive and very rare. It is believed that their power can protect owners from dangers and harm.


ในสมัยโบราณพระเครื่องต่างๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับทหารเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ มีบางคนเชื่อกันว่าพระเครื่องเหล่านี้มีอำนาจพิเศษที่จะปกป้องทหารจากความตาย ในประเทศไทยพระรอดเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียง มีราคาแพงและหายาก เป็นที่เชื่อกันว่าอำนาจของพระเครื่องสามารถปกป้องเจ้าของจากภัยอันตรายต่างๆได้


Prarod Lamphun.
พระรอด ลำพูน

Mural paintings by Kriengkrai Muangmul at Wat Doi Mon, Sri Buaban District, Lamphun Province Thailand.


ภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยเกรียงไกร เมืองมูล ที่วัดดอยมูล อำเภอศรีบัวบาน จังหวัดลำพูน ประเทศไทย


Remarks:

Illustrations shown here are work of art that has accumulated in my family for more than three generations. Those interested in applying for education only other details. Those interested in the source and style of amulet art are asked to study further.


หมายเหตุ: ภาพประกอบเป็นงานศิลปะที่สะสมไว้ในครอบครัวมามากกว่าสามชั่วอายุคนในครอบครัวแล้ว ผู้ที่สนใจใช้สำหรับการศึกษาเท่านั้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ผู้ที่สนใจที่มาและรูปแบบของศิลปะพระเครื่องขอให้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป



พระรอดลำพูน

At the time of celebrating the 200 years of Rattanakosin (B.E. 2525), my father had ordered Phra Rod, which is a Buddha image from Lamphun Province. Is a very heavy metal Buddha Image. Remember it took a very long time. I still do not know what this name is. No one speaks or asks what the name of the Buddha image comes from. How important is it? It is surprising that being a woman is restricted to learning or acquaintance closely. We have a safe room for storage that I will only see the time to clean the Buddha image room. Because it is a duty that I have to take care of when I organized the house as a gallery in important festivals such as New Year's Day or Songkran. I will bring the Buddha image to place of worship downstairs. So the family will pay homage to other Buddha images whose family and friends will know where they are from in order to study and this is probably one of the reasons that Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiangmai Province, which is the university of the monks Invited me to teach both in Jed Yod campus and Suan Dok campus in Chiang Mai. I immediately agreed because there will be disciples and I will have more opportunities to easily take pictures in the temple. I created the blog "incmiart" for visitors who want to know about the temple in Chiang Mai from September 2010. The subjects I taught at the Faculty of Political Science were English for Political Scientists and I was a guest lecturer there for many years. It was a good time for me to learn as well.


ในเวลาเฉลิมฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คุณพ่อของดิฉันได้จองพระรอดที่เป็นพระบูชาจากจังหวัดลำพูนมาที่บ้าน เป็นพระโลหะที่หนักมาก จำได้ว่าใช้เวลานานมาก ระยะเวลาที่ผ่านไปดิฉันเองยังไม่ทราบเลยว่าพระองค์นี้ชื่ออะไร ไม่มีใครพูดหรือซักถามว่าพระชื่ออะไร มาจากที่ไหน มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าการเป็นสตรีถูกจำกัดการเรียนรู้หรือการรู้จักอย่างใกล้ชิด เรามีห้องพระที่ปลอดภัยสำหรับเก็บ ดิฉันจะเห็นเวลาที่เข้าไปทำความสะอาดห้องพระเท่านั้น เพราะถือเป็นหน้าที่ที่ดิฉันต้องดูแล เมื่อดิฉันจัดบ้านเป็นแกลเลอรี่ในเทศกาลสำคัญเช่นวันปีใหม่หรือสงกรานต์ ดิฉันก็จะนำออกมาจัดที่สักการะด้านนอกซี่งเป็นชั้นล่าง เพื่อครอบครัวจะได้ทำการสักการะสลับกับพระประธานองค์อื่นๆ ที่มี และคนในครอบครัวจะได้รู้จักว่าเป็นพระปางอะไร มาจากที่ไหน เพื่อเป็นการศึกษา และนี่คงเป็นเหตุหนึ่งที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของพระสงฆ์ ได้เชิญดิฉันไปสอน ทั้งวิทยาเขตเจ็ดยอดและวิทยาเขตสวนดอกในจังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันตกลงใจทันที เพราะจะได้มีลูกศิษย์ที่เป็นพระตามวัดต่างๆ ซึ่งดิฉันมีโอกาสเข้าไปถ่ายรูปในวัดได่ง่ายขึ้น ดิฉันได้ทำบล็อกชื่อ "Incmiart" สำหรับผู้มาเยี่ยมเยือนเชียงใหม่ที่อยากจะทราบเกี่ยวกับวัดในจังหวัดเชียงใหม่ วิชาที่ดิฉันสอนของคณะรัฐศาสตร์ ชื่อว่า English for Political Scientists และดิฉันได้เป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่นั่นอีกหลายปี

ซึ่งเป็นเวลาที่ดีในการเรียนรู้ของตัวดิฉันเช่นกัน


ดู 286 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


OUR TEAM

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me to add your own content and make changes to the font. 

Read More

bottom of page