top of page
รูปภาพนักเขียนJanine Yasovant

Phra Rod : Making by Wat Mahawan Lamphun

อัปเดตเมื่อ 3 ม.ค. 2563


Janine Yasovant: Writer



To date, Phra Rod is regarded as the oldest and the most famous amulets. it is believed that the first batch of Phra Rod was made during Hariphunchai period over 1,300 years ago. At that time, Harichunchai Kingdom was a part of Lanna Thai. Phra Rod is a part of Benjaphakhi Amulet Set which is the rarest and the most expensive. At the present, Phra Rod is still sought by many amulet collectors in Thailand and abroad.


เมื่อพระรอดเป็นพระที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุด เวลาที่ยอมรับกันคือมากกว่า 1300 ปี จากในอาณาจักรหริภุญชัย ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของล้านนาไทย พระรอดจึงเป็นพระที่ ผู้ศรัทธาในพระที่เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี ที่นักสะสมถือว่าหายากสุดมีพุทธคุณ และราคาแพง ที่สุด ที่เป็นความต้องการของ นักสะสม ทั้งชาวไทยและต่างชาติ


The above example is Phra Rod that Wat Mahawan made in 1982 A.D.


ตัวอย่างข้างบนนี้เป็นพระรอดที่วัดมหาวันสร้างขึ่นในปี พ.ศ. 2525

Wat Mahawan Temple, Lamphun Province


Looking back until 100 years ago, I found that Phra Rod was made by many temples and in many batches. We should not compare this with the ancient Phra Rod made over 1,300 years. When we study information about Phra Rod and the making, we found that Wat Mahawan temple had made Phra Rod many times. Impressively, over a hundred famous venerable monks throughout the Thailand came to the Phuttaphisek ceremony.

Most of them are from famous temples in Bangkok and several provinces.

กลับมาดูพระที่สร้าง ในสมัยไม่เกิน 100 ปี ดิฉันพบว่า มีการสร้างพระขึ้นมาหลายวัด หลายครั้ง เราไม่ได้นำไปเปรียบเทียบ กับพระรอดโบราณกาล เป็นพันๆปี ดิฉันพบว่าเมื่อเราศึกษา ข้อมูลของพระ และความเป็นมาของการจัดสร้าง พบว่าวัดมหาวันเป็นวัดหนึ่ง ที่มีประวัติสร้างพระรอด ขึ้นมาหลายครั้ง แต่สิ่งที่น่าประทับใจ คือเหล่าเกจิอาจารย์ ที่มาร่วมพิธี คือเป็นเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียง นับสิบนับร้อยองค์ที่มาทำพิธีพุทธาภิเษกประจำอยู่วัดที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด


The record of making Phra Rod mentions about the essential materials such as holy water from temples, remnants of ancient Phra Rod, soil and minerals (More details about making of Phra Rod by Wat Mahawan temple will be added and translated at later time)


บันทึกการจัดสร้างพระรอดจะกล่าวถึงวัสดุที่จำเป็น จะเป็นน้ำศักดิ์สิทธ์จากวัดต่างๆ พระรอดโบราณที่ชำรุด และมวลสารสำคัญต่างๆจากดินหรือเเร่ต่างๆ ( รายละเอียดการสร้างพระรอดของวัดมหาวันทางวัดได้บันทึกไว้ ดิฉันจะนำมาแปลเพิ่มเติมในภายหลัง )




The facial feature of Phra Rod is resemble to Phra Singha. The above example I got is the newer batch of Phra Rod made by Wat Mahawan in 1982 A.D. This Phra Rod is the imitation of the ancient Phra Rod. The temple want collectors to see the unique feature of the ancient Phra Rod. Name of the temple was engraved behind the amulet to show this Phra Rod is the making of Wat Mahawan temple. The facial feature of Phra Rod can be old or new design depending on the time it is made. The sitting posture is subduing Mara style.


พระรอดจะมีที่หน้าเหมือนพระสิงห์ ดังตัวอย่างด้านบนสุดองค์นี้ ที่ดิฉันได้มาเป็นพระรอดที่สร้างโดยวัดมหาวันที่สร้างในปีพ.ศ. 2525 รุ่นนี้ทำเลียนแบบพระรอดโบราณ เนื่องจากวัดต้องการทำความเข้าใจกับผู้ครอบครองว่าได้พระเเท้ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระรอดจริง จึงมีการสลักหลัง ว่าเป็นงานสร้างพระของวัดมหาวัน ซึงมีการสร้าง หลายครั้งรูปร่างหน้าตาพระก็จะอิงแบบโบราณและออกแบบใหม่ เป็นปางมารวิชัย


I have 5 samples of Phra Rod from Wat Mahawan temple. Many people can identify when each Phra Rod Amulet is made. Most of them came from the my family's merit making at temples except the first one that I got for educational purpose with me and readers. I am fascinated in the style that imitate ancient Phra Rod and holy blessing by many venerable monks. For me, it is valuable enough.


ดิฉันมีตัวอย่างของวัดมหาวัน 5 พิมพ์ ที่ครอบครองอยู่ ผู้มีความรู้คงแยกได้ว่าองค์ไหนสร้างก่อนหลัง ประมาณพ.ศไหน ที่มา ก็จะเป็นพระที่ได้มาจากการไปทำบุญของครอบครัว มีองค์แรกเท่านั้นที่เป็นความตั้งใจ ของดิฉันเช่ามาเพื่อนำมาเป็นการศึกษา ระหว่างดิฉันกับผู้อ่าน และดิฉันก็ชอบในความงามเลียนแบบพระรอดโบราณ ความรู้สึกด้านพระพุทธคุณ เจ้าคุณวัดต่างๆมาทำพิธี เท่านี้ก็คุ้มค่ามากมายแล้ว




Besides Wat Mahawan, several important temples also made new batches of Phra Rod such as Wat Chet Yod, Wat Chedi Luang to celebrate 600th year anniversary. This Phra Rod also made by famous venerable monks. I also have some example to show you the later time to create better understanding the origin of Phra Rod and Buddhism Art for sharing knowledge.

นอกจากวัดมหาวัน ยังมีวัดสำคัญๆต่างๆ สร้างพระรอด ในเวลาไล่เรียงกัน เช่นวัด เจ็ดยอดพระอารามหลวง วัดเจดีย์หลวง ครั้งเมื่อครบ 600 ปี พระรอดที่สร้างจากพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ดิฉันมีตัวอย่างก็จะนำมาให้ท่านชมตามลำดับต่อไป และสร้างความเข้าใจในที่มาและพุทธศิลป์ ให้เป็นความรู้แบ่งปันกัน




The facial feature of Phra Rod in each batch is different. The beauty and style is from the Khantara but it is not the Khmer style which is quite a different kind of beauty.

หน้าพระรอดที่มีก็จะแตกต่างออกไป จะเป็นแบบที่งดงามแบบคันธาระ มากกว่า หน้าแบบ เขมร ซึ่งสวยไปคนละเเบบ




The following two are made in 1975 A.D. and underwent the Phuttaphisek ceremony in India.


สององค์ใหญ่นี้เป็นพระที่สร้างในปีพ.ศ. 2518 ที่นำไปปลุกเสกที่ประเทศอินเดีย


This Phra Rod has dark grey color and complete facial feature.


องค์นี้จะเป็นสีเทาเข้ม มีหน้าตาครบ





This Phra Rod has brown and grey color and is the largest among the group of five amulets.


เป็นองค์สีเทาปนน้ำตาลองค์ใหญ่กว่า กล่าวได้ว่าองค์ใหญ่สุดของกลุ่ม 5 องค์นี้









This Phra Rod has black and grey color.


เป็นองค์สีเทาดำ



ความเชื่อในคุณวิเศษของ "พระรอด" กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน เรื่องแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง เช่นเดียวกับ พระคง ที่เชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของคนท้องถิ่นมานานกว่าร้อยปี ตั้งแต่การขุดพบพระรอดครั้งแรก สมัยพระเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ในการบูรณะเจดีย์วัดมหาวัน เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ จนเกิดความนิยมเช่าหากันในวงกว้าง ทำให้ราคาการซื้อขายขึ้นสู่หลักแสนหลักล้านในทุกวันนี้ สุดวิสัยที่ชาวบ้านทั่วไปจะหามาครอบครองได้ จึงต้องมองหา พระรอด ที่สร้างขึ้นในยุคหลังมาใช้ทดแทน โดยเฉพาะรุ่นที่สร้างขึ้นในวัดมหาวัน ซึ่งเป็นแหล่งขุดพบ พระรอด องค์ต้นแบบ

Phra Rod by Kruba Kongkaew : Wat Mahawan 1942


การสร้างพระรอดยุคหลังของวัดมหาวัน มีมาร่วมร้อยปี เช่น พระรอดแขนติ่ง พระรอดครูบากองแก้ว พระรอดน้ำต้น มาจนถึง พระรอด วัดพระสิงห์ พ.ศ.๒๔๙๖ พระรอด วัดชัยพระเกียรติ พ.ศ.๒๔๙๗ ฯลฯ ล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพระรอดที่มีต่อคนล้านนาเป็นอย่างดี

ความจริงแล้ว พระรอดครูบากองแก้ว หรือ พระรอดบากองแก้ว เป็นที่รู้จักและนิยมกันมานานแล้ว เช่นเดียวกับ พระรอดแขนติ่ง และ พระรอดน้ำต้น ซึ่งมีบันทึกประวัติการสร้าง จากหนังสือ "ปริอรรถาธิบายพระรอด" ของ "ตรียัมปวาย" พิมพ์ พ.ศ.๒๕๐๓ ไว้ว่า

“ในปีพ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามอินโดจีน ภิกษุ กองแก้ว (ราชจินดา) รองเจ้าอาวาส (สมัยพระครูวินัยธร "ญาณวิจารณ์” เป็นเจ้าอาวาส) ได้ปฏิสังขรณ์ฐานพระเจดีย์มหาวัน อีกครั้ง เนื่องจากเกิดไม้กาฝากทำให้ชำรุด และในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้พบ พระรอด ซึ่งเจ้าอินทยงยศโชติ ได้จัดสร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๕๑ บรรจุไว้ มีผู้แตกตื่นมาขอเช่าบูชากันเป็นอันมาก โดยเข้าใจผิดว่าเป็น พระรอดรุ่นจามเทวี”

ขอบคุณ คุณน้อย ไอยรา



คมชัดลึก 3 พ.ค. 2555


“พระรอดกองแก้ว ในระยะเวลาใกล้กับการพบพระรอดอินทยงยศ นั้น ภิกษุกองแก้ว ได้สร้างพระรอดรุ่นใหม่ขึ้นอีกรุ่นหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๕ เรียกกันว่า พระรอดเสาร์ห้า หรือ พระรอดกองแก้ว การผสมเนื้อ ใช้ดินหรดาล ซึ่งขุดได้หม้อหนึ่ง เมื่อคราวมีการขุดหาพระรอดที่บริเวณลานวัด มาเป็นเชื้อผสมด้วย กล่าวกันว่า เป็นดินพิเศษ มีกลิ่นหอม พระรอดกองแก้ว นี้ มีข้าราชการทหาร และประชาชน มาเช่าบูชากันมาก”

จากคำบอกเล่าของ อ.สันต์ ตาบุรี ผู้สร้าง พระรอดน้ำต้น ใน “ประวัติการสร้างพระรอดน้ำต้น” เขียนโดย "บังไพร" นิตยสารมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๓๑ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ พอจะสรุปได้ว่า "ครูบากองแก้ว เริ่มสร้างพระรอดตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณร อายุประมาณ ๑๙-๒๐ ปี (พ.ศ.๒๔๖๔ ) สมัยนั้น พระรอดมหาวัน รุ่นเก่า ยังไม่มีราคาค่างวดอะไร การสร้างพระของสามเณรกองแก้ว น่าจะมีเจตนาเพื่อบูรณะพระรอด และพระลำพูนพิมพ์อื่นๆ ที่แตกหักชำรุดเสียหาย เป็นจำนวนมาก เล่ากันว่า วางอยู่บริเวณโคนต้นไม้ในวัดเต็มไปหมด มากกว่าที่จะตั้งใจปลอมแปลงพระรอดรุ่นเก่า"

จากบันทึกของ "ตรียัมปวาย" และ อ.สันต์ ตาบุรี อาจกล่าวได้ว่า พระรอดครูบากองแก้ว มีการสร้าง ๒ ครั้ง ครั้งแรก สมัยเป็นสามเณร ประมาณ (พ.ศ.๒๔๖๔) ครั้งที่สอง สมัยเป็นรองเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๘๕

สมัยก่อน เซียนพระรอดรุ่นเก่าอย่าง ลุงเสมอ บรรจง เฮียวัลลภ ร้านทองแสงฟ้า พี่สมศักดิ์ พร้อมเชื้อแก้ว ทวี โอจรัสพร ฯลฯ เล่นพระรอดครูบากองแก้ว กันอยู่ ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อ ทั้ง ๒ พิมพ์นี้ลักษณะองค์พระและฐานใกล้เคียงกับพิมพ์ของพระรอดรุ่นเก่าของกรุวัดมหาวันมาก ต่างกันที่ตำแหน่งของใบโพธิ์ บางองค์เนื้อจัด เหมือนพระรอดรุ่นเก่า พิมพ์เล็กเป็นพิมพ์นิยม สวยๆ ราคาหลายหมื่น

ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๘ มีการขุดพบพระรอดครูบากองแก้ว โดย นายปั๋น และ หนานสม ได้จากลานวัดมหาวัน ใต้ต้นมะม่วง ใกล้กุฏิเจ้าอาวาส ได้พระรอดร่วมพันองค์ในหม้อดิน มี ๕ พิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก ต้อ ตื้น พระส่วนใหญ่เนื้อสีเหลืองและเขียว ลักษณะการขุดพบ เป็นการขุดหาพระรอดรุ่นเก่า บริเวณลานวัด ช่วงนั้นพระบางส่วนได้ทะลักเข้าตลาดพระ ตลาดบุญอยู่ ข้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เป็นตลาดพระใหญ่ที่สุดของ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว เซียนหลายคนดูแล้ว บางคนบอกไม่เก่า บางคนยืนยันว่าเก่า แท้ แน่นอน วงการพระเครื่องท้องถิ่นยังมีความเห็นแตกต่างกันเรื่องพิมพ์ หลายคนไม่กล้าเล่น ราคาพระก็ไม่ขยับ ความนิยมเลยเป็นรอง พิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อ จนถึงวันนี้

ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ให้ดูธรรมชาติความเก่าเป็นหลัก เพราะพระอายุ ๗๐-๘๐ ปี ฝังอยู่ในดิน ดูยังไงก็ต้องเก่า ทางที่ดีเลือกพิมพ์นิยม ไว้ก่อน สบายใจกว่า ใครอยากได้พระรอดมหาวันไว้ใช้ องค์นี้ใช่เลย เพราะใช้ชิ้นส่วนพระรอดเก่าที่หักชำรุด ซึ่งมีคุณวิเศษอยู่แล้ว เป็นส่วนผสมหลัก พุทธคุณจึงเหมือนพระรอดรุ่นเก่า แต่ราคาย่อมเยากว่ากันมากมาย

ดู 353 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


OUR TEAM

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me to add your own content and make changes to the font. 

Read More

bottom of page