top of page
รูปภาพนักเขียนJanine Yasovant

Phra Rod Wat Phra Singha Chiang Mai

อัปเดตเมื่อ 3 ม.ค. 2563


Janine Yasovant, MPA. Writer

Almost 70 years, Phra Rod, Phra Singha Temple made in the great ceremony in 1952 to raise money for building the Buddhist's place in Chiang Mai.


พระรอดวัดพระสิงห์ สร้างครั้งยิ่งใหญ่ พศ.2495 เพื่อนำเงินไปสร้างพระพุทธสถาน ของจังหวัดเชียงใหม่


Wat Phra Singh Temple CHIANGMAI


Wat Phra Singha Before Songkran 11 April 2019

Vihara Laikham : Wat Prasingha ChiangMai


ChiangMai Map

I have some photos of Buddhist's place for readers at the end of the article.

ดิฉันมีรูปถ่ายประกอบมาด้านล่างนี้


I have one example of Phra Rod Phra Rod Wat Phra Singha amulet made in 1952 A.D. The circle of Thai amulet collectors regard this amulet has the similar blessing as the ancient Phra Rod. The amulet series come with different types. I only selected one example to show you because this Phra Rod's size is a bit large and there is clearly an engraving of Thai number 5 "๕". There are more amulets in my possession that can be categorized in the same group. Let me study a bit further for a while.


มีพระรอดที่สร้างเมื่อพศ.2495 ที่เป็นที่ยอมรับในวงการพระ พุทธคุณเทียบได้กับพระรอดโบราณ รุ่นนี้สร้างหลายแบบหลายพิมพ์ ดิฉัน เลือกมาให้ชมเพียง1 องค์ เนื่องจากเป็นพระรอดขนาดใหญ่และมีการจารึกเลข ๕ ไทยไว้ชัดเจน ยังมีองค์อื่นอีกที่สามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน นี้ได้อีกหลายองค์ ต้องขอเวลาศึกษาอีกเล็กน้อย


รูปนี้ผู้อ่านจะเห็นเลข ๕ ซึ่งวันทำพิธีกรรมจะไปตรงกับ วันเสาร์ ที่ 5

This Phra Rod used to be the most famous amulet of Chiang Mai. it was made by many famous venerable monks in the list below. At the time my grandfather retired from Yupparaj College school, he came to be the principal and help the management for Thammaratsueksa school, the large secondary and high school located in Wat Phra Singha temple in Chiang Mai. At the time I wasn't born yet but I've heard later that the Phutthaphisek ceremony was very remarkable. Phra Rod he received at that time became the heritage of our family. Then I decide to show you these two samples for casual reading and studying art at the same time.


พระรอดรุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างขึ้นโดยมีพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงมากตามรายนามที่ได้มาด้านล่างนี้ ในเวลานั้น คุณตาของดิฉันได้มาเป็นช่วยงานบริหาร โรงเรียน ธรรมราชศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ และท่านเมือปลดเกษียณจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ก็ได้มาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนในวัดพระสิงห์ ..เวลานั้นดิฉันยังไม่เกิดค่ะ ทราบมาเท่านี้ ว่างานพิธียิ่งใหญ่มาก....และยังมีพระรอด มรดกให้ขบคิดกัน จนดิฉันตัดสินใจนำมาเป็นตัวอย่างให้ดูให้อ่านและศึกษาศิลปะไปพร้อมกัน


I am always delighted to share information to you although I am not the true expert of amulets. I am currently living in Chiang Mai my hometown. I can talk about amulets and arts from reading books and internet websites with good illustrations of amulets. One of the conventional ways to acquire genuine amulets is to reserve some amulets from the Phutthaphisek ceremony. By donating certain amount of money to the temples, this way we will get new amulet and help the temple. The price might be rather high like the new stock come to the stock market but this way we donated some money to the temple and made merit. Sometimes if we can wait for a few years and purchase from someone who has the amulet we want, we might get a better deal and affordable price.


ดิฉันจะยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ ในวันที่ดีๆ ไม่ได้เก่งหรือเป็นเซียนพระ แต่ดิฉันอยู่เชียงใหม่ คือบ้านเกิด ที่สามารถพูดถึงพระและศิลปะที่ศึกษามาด้วยการอ่านจากตำราที่มีรูปเปรียบเทียบ ที่ทราบคือจะมีการจองพระ และทำบุญเมื่อมีการสร้างพระ เราก็จะได้พระมาครอบครอง ซึ่งราคา ก็ไม่น้อยเลย เหมือนหุ้นใหม่ออกมาในตลาด การมาซื้อทีหลังอาจได้ของถูกกว่าก็มี แต่ทุกคนได้พระจากการบริจาคเงิน เราถือว่าได้บุญค่ะ มากมาย


This set of amulet was made as a commemoration to the construction of Buddhist's place in Chiang Mai. The laying foundation stone ceremony was made on 1953 A.D. 11.45 AM, corresponding to 10th waxing moon, seventh month, the small snake year. Julasakarat 1315 (equivalent to 2496 B.E.) The ceremony began on 9 hour 21 minutes and 41 seconds. The candle lighting ceremony began later on 19.20 PM that day. The general Phao Sriyanont was the president of honor. it is said that Phra Rod in that ceremony had the almost similar level of blessing compared to the original blessing of Phra Rod Wat Mahawan. The total number of Phra Rod was 84,000 and the fundraising was for the construction of Buddhist's place.


พระชุดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พศ.2496 เวลา 11.45 น. ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 เริ่มพิธี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา 21 นาที 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเมื่อเวลา 19.20 โดยมีพล.อ เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธาน ว่ากันว่า เป็นพระที่มีพุทธคุณใกล้เคียงกับพระรอดของเดิมมากที่สุด ซึ่งพระชุดนี้ สร้างไว้ประมาณ 84,000 องค์ เพื่อหารายได้สบทบทุนเพื่อสร้างพุทธสถานดังกล่าว


The materials used in the making were the soil in the north of Wat Phra Kong Luesee Lamphun Province because it is believed that Phra Nang Chamdhevi used the soil that area to make amulets. The temporary shrine was built there and the land was dug down about 3 Sok (0.5 m). A certain kind of clay called Din Khui Pu was found. The clay was dissolved by holy water and filtered by a fine white cloth. After drying completely, the soil was crushed into powder and then mixed with relic powder in orange's size. Then the soil was sent to Bangkok. Ajarn Chalong Mueangkaew was a ceremonial leader for chanting relic to the soil and then the soil was transported back to Lamphun to the amulet maker in 11 different moulds. During the best time, Phra Kru Wammuni and a Phra Kru Siwachan who was the Brahmin leader chanted the Siwawet scroll to invite spirit of kings and Phra Nang Chamdhevi. The Brahmin blowed the horn after finishing the part of Brahmin ceremony. For Buddhist ceremony, the invited venerable monks went on reciting incantations over the amulets for 3 days and 3 nights.


วัสดุในการสร้างประกอบด้วย ดินบริเวณทิศเหนือ ของวัดพระคงฤาษี จังหวัดลำพูน เป็นบริเวณที่เชื่อกันว่า พระนางจามเทวีใช้ดินบริเวณดังกล่าว ในการสร้างพระ โดยสร้างศาลเพียงตา แล้วขุดลึกลงไปประมาณ 3 ศอกจึงได้พบเนื้อดินในลักษณะ เป็นดินเหนียวที่เรียกว่าดินขุยปู จากนั้น ละลายดินที่ได้ด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วกรองด้วยผ้าขาวละเอียด บดให้เป็นฝุ่นเหมือนผงแป้งแล้วจึงนำมาผสมกับผงพระธาตุ ขนาดประมาณเท่าผลส้ม แล้วส่งลงมากรุงเทพฯ ให้อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วจึงส่งกลับลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพิ์เป็นพระออกมา มีทั้งสิ้น ประมาณ 11 พิมพ์ เมื่อถึงเวลาฤกษ์ จึงให้พระครูวามมุณี และท่านพรามหมณ์พระครูศิวาจารย์ ซึ่งเป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ อ่านเทวโองการศิวะเวทย์ อัญเชิญดวงวิญญาณแห่งกษัตริย์ และพระนางจามเทวี เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังแตร เมื่อจบพิธีทางพราหมณ์ จึง นำไปเข้าพิธีทางสงฆ์ ให้บรรดาเกจิต่าง เข้านั่งปรกบริกรรมปลุกเสกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน


Names of the venerable monks in the ceremony are as follows;


ซึ่งคณาจารย์ ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมรายชื่อจากหลักฐานต่าง ๆ ได้ มีดังนี้


1. เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์

2.เจ้าคุณศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง

3.หลวงปู่นาค แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม

4.หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

5.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม

6.ครูบาวัง แห่งวัดบ้านเด่น

7.พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์

8. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้

9.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

10. หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง

11.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชบูรณ์

12.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

13. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา

14.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ

15.หลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

16.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน


มีพระจากวัดปากน้ำไปร่วมพิธี 3 รูป ตามรายนามที่ค้นได้ดังนี้

1. พระมหาธีวัฒน์

2. พระอาจารย์จ้าย

3. พระอาจารย์อินทร์




พุทธสถานเชียงใหม่ ภาพในปัจจุบัน

ChiangMai Buddhist place: 164 Thapae Rd Soi 3, Tambon Chang Mai, Amphoe Mueang Chiang Mai, Chang Wat Chiang Mai 50300

Chiang Mai Buddhist Place is opposite to Bann Tuek Art Center

ดู 115 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


OUR TEAM

I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. It’s easy. Just click “Edit Text” or double click me to add your own content and make changes to the font. 

Read More

bottom of page